วชิราวุธานุสรณ์สาร

หอวชิราวุธานุสรณ์เป็นการนำคนเข้ามาสู่ความรู้
แต่วารสารวชิราวุธานุสรณ์เป็นการนำความรู้ออกไปสู่คน”

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
อดีตประธานกรรมการหอวชิราวุธานุสรณ์และอดีตประธานกรรมการ
มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์

“วชิราวุธานุสรณ์สาร” เป็นวารสารของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ ส่งเสริมการศึกษาประชาชนอันเนื่องด้วยพระบรมราโชบายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประถมศึกษา ส่งเสริมความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความสามัคคีของคนในชาติ ส่งเสริมความมั่นคงของชาติอันเนื่องมาจากการตั้งกองเสือป่าและลูกเสือ รวมทั้งส่งเสริมการเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย

กำหนดออกวารสารในวันสำคัญของรัชกาล ได้แก่

วันที่ ๑ มกราคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ ๖ เมษายน ซึ่งเป็นวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้วันที่ ๖ เมษายนของทุกปี เป็นวันจักรี เริ่มตั้งแต่วันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๑)

วันที่ ๑ กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันพระราชทานกำเนิดกิจการลูกเสือของประเทศไทย

วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

“วชิราวุธานุสรณ์สาร” ฉบับปฐมฤกษ์ ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๔ อันเป็นวาระครบ ๗๐ ปี แห่งการเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ผู้สนใจสามารถบอกรับเป็นสมาชิกหรือซื้อปลีกในราคาฉบับละ ๖๐ บาท ได้ที่สำนักงานมูลนิธิฯ ชั้น ๑ อาคารหอวชิราวุธานุสรณ์ หรือสามารถสืบค้นอ่านฉบับย้อนหลังได้ ณ ห้องสมุดรามจิตติ ชั้น ๒ หอวชิราวุธานุสรณ์ ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๓๐ น.

หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน กรุงเทพฯ
โทรศัพท์: 0 2282 2886


close
ฉบับที่ ๑ (ปฐมฤกษ์ ๑๑ พ.ย. ๒๔)

ฉบับที่ ๑ (ปฐมฤกษ์ ๑๑ พ.ย. ๒๔)

ฉบับปฐมฤกษ์ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ วชิราวุธานุสรณ์สารยึดศุภมงคลฤกษ์ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ ซึ่งตรงกับวันฉัตรมงคลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ ๗๐ ปีก่อนคือวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๓ ออกฉบับปฐมฤกษ์ เสนอเรื่องหลักประจำฉบับเกี่ยวกับ “ประวัติการก่อตั้งหอวชิราวุธานุสรณ์” และบทความเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิกิตติมศักดิ์แขนงต่างๆ พร้อมด้วยคำอธิบายจากบรรณาธิการว่าเหตุใดจึงเลือกใช้คำว่า “ถือท้าย” แทนคำว่า “บรรณาธิการแถลง” ด้วยหมายจะเปรียบเปรยถึงผู้ถือพังงาเรือ ซึ่งทำหน้าที่บังคับทิศทางเนื้อหาสาระประโยชน์ในวารสารเล่มนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

ฉบับที่ ๒ (๑ ม.ค. ๒๕)

ฉบับที่ ๒ (๑ ม.ค. ๒๕)

เรื่องเด่นประจำฉบับ บทพระราชนิพนธ์ “Letters to the Butterflies” พระราชบันทึกแนวท่องเที่ยวเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนออสเตรีย-ฮังการี ที่สอดแทรกพระวิเทโศบาย แนวการปกครองประชาธิปไตย รวมถึงงานศิลปะที่ทรงพบเห็น แปลเป็นภาษาไทยโดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล และ “บทความนิทานพบใหม่ของรัชกาลที่ ๖” กล่าวถึงพระราชนิพนธ์ที่เพิ่งถูกค้นพบ และเอกสารเก่าที่เพิ่งได้รับการตรวจสอบว่าเป็นพระราชนิพนธ์, นิทานแปลสอดแทรกแง่คิด ตลอดจนเรื่องเล่าจากรัชสมัย เช่น “พระเจ้าอยู่หัวเสวยปูเค็ม” และบทความเชิงวิพากษ์ “อันเนื่องมาจากหนัง”

รายละเอียดเพิ่มเติม

ฉบับที่ ๔ (๑ ก.ค. ๒๕)

ฉบับที่ ๔ (๑ ก.ค. ๒๕)

ฉบับวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๒๕ วชิราวุธานุสรณ์สารฉบับ ๑ กรกฎาคม ๒๕๒๕ ตรงกับวันคล้ายวันพระราชทานกำเนิดลูกเสือสยามเมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๔ “ถือท้าย” เล่าเหตุการณ์ลูกเสือสยามคนแรก เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รัชกาลที่ ๖ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เนื้อหาหลักอื่นๆ ในเล่มมีบทพระราชนิพนธ์เก่าแก่เรื่อง “The Butterflies Book” เกี่ยวกับแง่คิดการดำเนินชีวิต แปลไทยโดย เนียนศิริ ตาละลักษมณ์ ต่อเนื่องด้วยบทวิเคราะห์พระราชนิพนธ์ โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เรื่อง “โอ ฮาน่า ซัง” และบทวิเคราะห์ “ภูมิหลังบทละครพระราชนิพนธ์มัทนะพาธา” โดยนวลผจง เศวตเวช

รายละเอียดเพิ่มเติม

ฉบับที่ ๕ (๑๑ พ.ย. ๖๐)

ฉบับที่ ๕ (๑๑ พ.ย. ๖๐)

ฉบับวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ เรื่องเด่นประจำฉบับ ได้แก่ ลายพระราชหัตถ์เพลงยาว “เขียนสารามาฝากจากดวงจิต” พระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ที่เพิ่งค้นพบหลังสูญหายไปนานกว่า ๕๐ ปี ทั้งยังมีพระราชโทรเลขของรัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานถึง ประธานาธิบดี เธโอดอร์ รูสเวลท์ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ที่ใด ตลอดจนพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ ที่เพิ่งถูกค้นพบ คือ “จดหมายจากเยอรมนี” แปลโดย ศ.ละม้ายมาศ ศรทัตต์ และบทละครสันสกฤตของมหากวีภาสะ “สวัปนะวาสวทัตตา” แปลโดยท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล

รายละเอียดเพิ่มเติม

ฉบับที่ ๘ (๑๑ พ.ย. ๖๑)

ฉบับที่ ๘ (๑๑ พ.ย. ๖๑)

ฉบับวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๒๖ คณะกรรมการรวบรวมและค้นคว้าเกี่ยวกับบทพระราชนิพนธ์ (กรว.) ค้นพบพระราชนิพนธ์ร้อยกรองภาษาอังกฤษ “Speak! Speak!” ที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นหลังจากทอดพระเนตรภาพเขียนของ Sir John Millais หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล แปลเป็นไทยตีพิมพ์ลงในฉบับนี้ ต่อเนื่องด้วยพระบรมราโชบายด้านการปกครอง ในบทความเรื่องดุสิตธานี ซึ่งตีพิมพ์พร้อมฉโนดที่ดินของดุสิตธานี และบทความเรื่อง “ธงชัยเฉลิมพลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” ทั้งยังมีบทความ “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระพุทธศาสนา” แสดงถึงพระราชกรณียกิจด้านการศาสนาตั้งแต่ครั้งทรงพระผนวชจนกระทั่งเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ

รายละเอียดเพิ่มเติม

ฉบับที่ ๒ (๑ ม.ค. ๖๐)

ฉบับที่ ๒ (๑ ม.ค. ๖๐)

ฉบับวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ ฉบับมงคลสมัยในวาระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ ทั้งยังเป็นฉบับวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วชิราวุธานุสรณ์สารครบรสด้วยสาระและเกร็ดประวัติศาสตร์ในรัชสมัย ทั้งการเสด็จฯ เลียบมณฑลปักษ์ใต้ การเสด็จฯ ทรงสำรวจคอคอดกระ พัฒนาการรถไฟไทย การก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกิจกรรมเสวนา “พิศภาพแล้วเพลินพูด” เรื่องการแต่งกายของสตรีสมัยรัชกาลที่ ๖

รายละเอียดเพิ่มเติม

ฉบับที่ ๓ (๖ เม.ย. ๖๐)

ฉบับที่ ๓ (๖ เม.ย. ๖๐)

ฉบับวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ เรื่องเด่นประจำฉบับ “พระประวัติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก” ในโอกาสการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อเนื่องด้วยบทความทางประวัติศาสตร์ “๑๒๐ ปี ไทย-รัสเซีย : ปฐมบทแห่งพระราชไมตรี” พร้อมด้วย “เรื่องเสด็จประพาสมณฑลกรุงเก่าและมณฑลนครสวรรค์” จดหมายเหตุรายวันในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเรื่องของ “เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี” ผู้มีคุณูปการต่อวงการศึกษาไทย องค์การยูเนสโกยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์

รายละเอียดเพิ่มเติม

ฉบับที่ ๔ (๑ ก.ค. ๖๐)

ฉบับที่ ๔ (๑ ก.ค. ๖๐)

ฉบับวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ อัญเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงเครื่องทรงมหาพิชัยยุทธเป็นภาพปก เนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีที่ประเทศไทยเข้าร่วมมหาสงคราม พร้อมด้วยเรื่องเด่นประจำฉบับเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ ๑ อาทิ สยามกับสงครามโลกครั้งที่ ๑” “พระราชดำรัสตัดตอนในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ ๑” “วงเวียน ๒๒ กรกฎาคม อนุสรณ์แห่งการประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑” และ ๑๐๐ ปี ธงไตรรงค์” ตลอดจนบทความน่ารู้ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร กับกิจการลูกเสือ”

รายละเอียดเพิ่มเติม